ตลาดน้ำอโยธยา จ.พระนครศรีอยุธยา
ตลาดน้ำอโยธยา สถานที่ท่องเที่ยว ผักผ่อนหย่อนใจ ที่ทาง JKreviews นำเสนอในครั้งนี้ เป็นสถานที่ท่องเที่ยว ที่สามารถเดินเล่นได้เกือบทั้งวัน เพราะที่ตลาดน้ำอโยธยาแห่งนี้ ด้านในมีสินค้าหลากหลายอย่าง, กิจกรรม, อาหาร ฯลฯ ที่ว่ากันแล้วก็ไม่หมด (มันเยอะจริงๆ) และที่สำคัญ ไม่ไกลจากกรุงเทพ จึงเหมาะอย่างยิ่ง สำหรับการท่องเที่ยวในหนึ่งวัน
การเดินทาง- โดยรถยนต์ส่วนตัว
** เดินทางตามเส้นทางถนนสายเอเชีย เลี้ยวช้ายเข้าตัวเมืองอุยธยา แล้วมุ่งหน้าไปตามถนนโรจนะ โดยขับตรงไปถึง เจดีย์วัด สามปลื้ม จากนั้นวนรอบวงเวียนเจดีย์ และเลี้ยวขวาไปทาง วัดมเหยงคณ์ จะพบตลาดน้ำอโยธยา อยู่ทางขวามือ โดยจะมีจุดบริการจอดรถภายในตลาดน้ำอโยธยา
** เดินทางตามเส้นทางถนนสายเอเชีย เลี้ยวช้ายเข้าตัวเมืองอุยธยา แล้วมุ่งหน้าไปตามถนนโรจนะ โดยขับตรงไปถึง เจดีย์วัด สามปลื้ม จากนั้นวนรอบวงเวียนเจดีย์ และเลี้ยวขวาไปทาง วัดมเหยงคณ์ จะพบตลาดน้ำอโยธยา อยู่ทางขวามือ โดยจะมีจุดบริการจอดรถภายในตลาดน้ำอโยธยา
- โดยรถสาธารณะ
** หากขึ้นรถที่สถานีหมอชิตใหม่ มีรถโดยสาร ทั้งแบบธรรมดาและรถโดยสารปรับอากาศไปจังหวัดอยุธยา ทั้งรถโดยสารปรับอากาศชั้น 1 กรุงเทพฯ-พระนครศรีอยุธยา และรถโดยสารปรับอากาศชั้น 2 กรุงเทพฯ-ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร-พระนครศรีอยุธยา
** หากจะใช้บริการรถตู้โดยสาร ก็สามารถขึ้นได้ที่ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ หรือ ฟิวเจอร์ปาร์ค รังสิต นั่งรถมาลงสุดสาย จากนั้นต่อรถมอเตอร์ไซต์ หรือ รถตุ๊ก ตุ๊ก บอกว่าคนขับว่า ลงตลาดน้ำอโยธยา
ภาพบรรยากาศสวยๆ น่าเที่ยวมาก ๆ
อีกมุมมองหนึ่งของแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ
ตลาด 100 ปี สามชุกชุก จ.สุพรรณบุรี
ตลาดสามชุก หรือ ตลาด 100ปี
ต้นแบบตลาดร้อยปีที่ได้รับความนิยมในเชิงท่องเที่ยว ถ้าถามว่าที่ไหนเป็นที่รู้จักมากที่สุดก็คงต้องยกตำแหน่งให้ "ตลาดสามชุก" จ.สุพรรณบุรี ตลาด สามชุกเป็นห้องแถวไม้ริมแม่น้ำท่าจีน มีความเป็นอยู่ในลักษณะผสมผสานระหว่างคนไทยและคนจีน ในอดีตเจริญรุ่งเรืองมาตลอด เป็นย่านการค้าสำคัญแห่งหนึ่งของลำน้ำท่าจีน การคมนาคมสัญจรไปมาและขนส่งสินค้าใช้แม่น้ำท่าจีนเป็นเส้นทางหลัก แต่มีเหตุซบเซาลงตั้งแต่ปี 2510 ด้วยการคมนาคมทางบกเริ่มเข้ามามีบทบาทและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทำให้การคมนาคมทางน้ำค่อยๆ หมดความสำคัญ ตลาดริมน้ำแห่งนี้จึงเริ่มซบเซา ผู้คนเริ่มย้ายออกไปทำมาหากินที่อื่น30 กว่าปีที่ตลาดแห่งนี้อยู่ภายใต้ความเงียบเหงา... จน กระทั่งปี 2543 ตลาดสามชุกได้รับการเยียวยาจากกลุ่มอนุรักษ์ในชุมชน ซึ่งผลสำเร็จปรากฏในอีก 3 ปีต่อมา เมื่อตลาดสามชุกได้รับคัดเลือกให้เป็น 1 ใน 12 เมืองนำร่องโครงการปฏิบัติการชุมชนและเมืองน่าอยู่ของมูลนิธิชุมชนไท โดยการสนับสนุนของ พอช.สสส. และในปี 2548 ได้รับคัดเลือกจากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ ให้ได้รับพระราชทานรางวัลอนุรักษ์ศิลปะสถาปัตยกรรมดีเด่น ประเภทองค์กร จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในวันนี้ สามชุกมีชีวิตชีวาขึ้นมาอีกครั้ง จากน้ำพักน้ำแรงและการมีส่วนร่วมของชุมชนที่ช่วยกันปลุกชีพให้ตลาดโบราณกลับ มาเป็นตลาดมีชีวิต มีผู้คนเริ่มเข้ามาเที่ยวชม จับจ่ายซื้อของ เมื่ออุปทานมี อุปสงค์จึงเกิด เจ้าของร้านรวงต่างๆ ที่ยังคงสภาพความเก่าแก่ก็กลับมาเปิดร้านอีกครั้ง พ่อค้าแม่ขายที่มีผลไม้ก็นำออกมาขายที่ตลาด ชาวบ้านที่มีฝีมือเรื่องการทำขนมไทยๆ หรืออาหารโบราณหาทานยากก็นำกลับมาขายใหม่ กลายเป็นแหล่งรวมของกินโบราณ ขนมโบราณ ของเล่นโบราณ ฯลฯ ..ช่วงเวลาของการเดินทอดน่อง ชมเรือนแถวบ้านไม้ การได้พูดคุยกับคนเฒ่าคนแก่ ตลอดจนการได้ต่อรองราคากับพ่อค้า แม่ค้า ที่นำของมาขายเอง (โดยไม่ได้ผ่านคนกลาง) ทั้งหมดนี้แหละ รวมกันแล้วคือส่วนผสมสำคัญที่เป็นเสน่ห์ทำให้ผู้มาเยือนหลงใหลไปกับบรรยากาศ ย้อนอดีตของตลาดร้อยปีแห่งนี้...สำรวจกันดีๆ นอกเหนือจาก "ตลาดสามชุก" จ.สุพรรณบุรี ยังมีตลาดแปะยี่ห้อร้อยปีอีกหลายที่ ไม่ว่าจะเป็น "ตลาดเก้าห้อง" อ.บางปลาม้า "ตลาดร้อยปีศรีประจันต์" ไปทาง จ.ปทุมธานี มี "ตลาดริมน้ำร้อยปีระแหง" อ.ลาดหลุมแก้ว ที่กรุงเทพฯ มี "ตลาดนางเลิ้ง" เป็นตลาดบกร้อยปี หรือถ้าข้ามไปที่ จ.ฉะเชิงเทรา ที่เพิ่งเริ่มกลับมาฮิตเป็นแหล่งท่องเที่ยวเมื่อไม่นานมานี้ก็มี "ตลาดคลองสวน" และ "ตลาดบ้านใหม่"
ภาพบรรยากาศของตลาดสามชุก
ตลาดอัมพวา
ตลาดน้ำที่ไหนๆ ก็ติดตลาดกันแต่ตอนเช้าทั้งนั้น แต่ที่ตลาดน้ำอัมพวาเขา เรียกว่าเป็น "ตลาดน้ำยามเย็น" ที่เริ่มติดตลาดเอาตอนบ่ายสามโมงไปยันค่ำ นอกจากจะมีอาหารสารพัดให้เลือกชิมแล้ว ยังมีบรรยากาศห้องแถวเรือนไม้สองฟากคลองของเก่าแก่ ให้ได้ย้อนอดีตกลับไปชื่นชมกันด้วย
อาหาร การกินมากมาย เช่น ขนมจีน ขนมเบื้องญวน กระเพาะปลา ข้าวยำปักษ์ใต้กับสลัดผลไม้ หมึกเผา กุ้งเผา ก๋วยเตี๋ยวหมู หอยทอด ก๋วยจั้บ ขนมไส่ใส้ และที่สำคัญแม่ค้าพ่อค้าจะพายเรือมาจอดให้คุณเกาะตลิ่งสั่งขึ้นมาชิมกัน นอกจากเรืออาหารในคลองแล้ว สองข้างทางทั้งสองฝั่งสะพานยังมีร้านให้เดินเลือกชมกันอีกเพียบ และมีกิจกรรมล่องเรือไปชมหิ่งห้อย
เดิมบริเวณพื้นที่ตำบลอัมพวา รวมถึงคลองอัมพวา ถูกเรียกว่า "แขวงบางช้าง" หรือ "สวนนอก" แต่ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าจัดตั้งขึ้นเมื่อใด ด้วยลักษณะเป็นชุมชนเล็กๆ แต่มีความเจริญทั้งในการเกษตรและการพาณิชยกรรม ในสมัยพระเจ้าปราสาททองแห่งกรุงศรีอยุธยา อัมพวาหรือในชื่อเดิมคือ แขวงบางช้าง ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในอู่ข้าวอู่น้ำของประเทศในสมัยนั้น และด้วยมีเส้นทาง สัญจรที่สะดวกที่สุดคือการคมนาคมทางน้ำ ทำให้บ้านเรือนที่สร้างขึ้นหันหน้า เข้าหาคลองเพื่อความสะดวกในการอุปโภคบริโภค
ที่ตลาดน้ำอัมพวาเป็นตลาดเก่าแก่ เมื่อสัก 50-60 ปีก่อนที่นี่ถือเป็นตลาดนัดทางน้ำที่ใหญ่ที่สุดในสมุทรสงครามเลย แต่ก็เหมือนกันที่อื่นๆ ก็คือพอถนนหนทางสะดวกมากขึ้น ตลาดการค้าก็ย้ายไปอยู่ริมถนนกันหมด แต่ชาวอัมพวายังคงอนุรักษ์รูปแบบการตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนไว้อย่างค่อนข้าง สมบูรณ์ จนมาได้รับรางวัลชุมชนอนุรักษ์ดีเด่นประจำปี 2545 จากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ หากใครยังติดใจบรรยากาศคึกคักกับตลาดริมน้ำ หรืออยากจะสัมผัสความเงียบสงบในแบบบ้านพักริมน้ำที่นี่ก็ยังมีที่พักแบบโฮมสเตย์ไว้รองรับสำหรับผู้มาเยือน เปิดให้พักกันหลายแห่ง สามารถเที่ยวชมบรรยากาศและชิมอาหารอร่อยที่ตลาดน้ำอัมพวา โดยจะมีเฉพาะ ศุกร์-เสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์
อาหาร การกินมากมาย เช่น ขนมจีน ขนมเบื้องญวน กระเพาะปลา ข้าวยำปักษ์ใต้กับสลัดผลไม้ หมึกเผา กุ้งเผา ก๋วยเตี๋ยวหมู หอยทอด ก๋วยจั้บ ขนมไส่ใส้ และที่สำคัญแม่ค้าพ่อค้าจะพายเรือมาจอดให้คุณเกาะตลิ่งสั่งขึ้นมาชิมกัน นอกจากเรืออาหารในคลองแล้ว สองข้างทางทั้งสองฝั่งสะพานยังมีร้านให้เดินเลือกชมกันอีกเพียบ และมีกิจกรรมล่องเรือไปชมหิ่งห้อย
เดิมบริเวณพื้นที่ตำบลอัมพวา รวมถึงคลองอัมพวา ถูกเรียกว่า "แขวงบางช้าง" หรือ "สวนนอก" แต่ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าจัดตั้งขึ้นเมื่อใด ด้วยลักษณะเป็นชุมชนเล็กๆ แต่มีความเจริญทั้งในการเกษตรและการพาณิชยกรรม ในสมัยพระเจ้าปราสาททองแห่งกรุงศรีอยุธยา อัมพวาหรือในชื่อเดิมคือ แขวงบางช้าง ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในอู่ข้าวอู่น้ำของประเทศในสมัยนั้น และด้วยมีเส้นทาง สัญจรที่สะดวกที่สุดคือการคมนาคมทางน้ำ ทำให้บ้านเรือนที่สร้างขึ้นหันหน้า เข้าหาคลองเพื่อความสะดวกในการอุปโภคบริโภค
ที่ตลาดน้ำอัมพวาเป็นตลาดเก่าแก่ เมื่อสัก 50-60 ปีก่อนที่นี่ถือเป็นตลาดนัดทางน้ำที่ใหญ่ที่สุดในสมุทรสงครามเลย แต่ก็เหมือนกันที่อื่นๆ ก็คือพอถนนหนทางสะดวกมากขึ้น ตลาดการค้าก็ย้ายไปอยู่ริมถนนกันหมด แต่ชาวอัมพวายังคงอนุรักษ์รูปแบบการตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนไว้อย่างค่อนข้าง สมบูรณ์ จนมาได้รับรางวัลชุมชนอนุรักษ์ดีเด่นประจำปี 2545 จากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ หากใครยังติดใจบรรยากาศคึกคักกับตลาดริมน้ำ หรืออยากจะสัมผัสความเงียบสงบในแบบบ้านพักริมน้ำที่นี่ก็ยังมีที่พักแบบโฮมสเตย์ไว้รองรับสำหรับผู้มาเยือน เปิดให้พักกันหลายแห่ง สามารถเที่ยวชมบรรยากาศและชิมอาหารอร่อยที่ตลาดน้ำอัมพวา โดยจะมีเฉพาะ ศุกร์-เสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์
ตลาดท่านา ชิม ชม ชอป ตลาดเก่าไซส์มินิ
สถานที่ท่องเที่ยวสำหรับฉัน ไม่ได้มีเพียงแค่ ภูเขา ทะเล และน้ำตก แต่รวมไปถึงสถานที่ที่ยังคงเกาะเกี่ยวเรื่องราวของอดีตไว้ได้อย่างชัดเจนมากที่สุด ก็คือ "ตลาดเก่าแก่" เมื่อกาลเวลาผ่านไป ตลาดที่เคยตั้ง ก็ยังคงตั้งอยู่ พร้อมบ้านเรือนไม้ก็ยังคงแข็งแรง เคียงคู่กับผู้คนที่หมุนเวียนจากรุ่นสู่รุ่น รวมทั้งร้านค้าต่างๆ ที่ยังคงความงดงามของสถาปัตยกรรมและเฟอร์นิเจอร์ภายในไว้ได้ ราวกับว่า เวลาไม่เคยหมุนเลย ที่แห่งนี้ทำให้ฉันอยากมีโอกาสได้เห็นอดีตครั้งที่ความศิวิไลซ์ยังอยู่ห่างจากความเป็นจริง
ตลาดท่านา เป็นตลาดเก่าขนาดเล็กติดริมแม่น้ำนครไชยศรี จ.นครปฐม ตลาดแห่งนี้ตั้งอยู่บริเวณเดิม โดยสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่ที่มีแนวคิดที่จะคงความเป็นอยู่และอนุรักษ์วิถีชีวิตเช่นนี้ไว้ให้คงอยู่ถึงคนรุ่นหลัง เน้นเรื่องการอนุรักษ์อาคารสถาปัตยกรรมในอดีต ซึ่งจะเห็นได้ทั่วไปในตลาดท่านา จุดแรกที่สะดุดตามากที่สุดก็คือ ร้านขายของเล่นโบราณ บ้านไม้สองชั้นอายุกว่า 100 ปี สถาปัตยกรรมที่ทรงคุณค่า เดินเข้าไปในร้านก็จะเจอของเล่นทั้งเก่าและใหม่ผสมกันอยู่ให้ได้ตื่นตาตื่นใจ ขนาดโตๆ แล้ว ยังแอบซื้อของเล่นชิ้นเล็กๆ ที่จำได้ว่าสมัยเด็กๆ เคยได้เล่น แถมยังได้พูดคุยกับเจ้าของบ้าน เพราะคุณป้าเรียกให้ฉันเข้าไปในตัวบ้าน ชี้ขึ้นไปบริเวณคานไม้ด้านบนของบ้าน แล้วบอกว่านี่เป็นการสร้างบ้านแบบโบราณ คานไม้ของที่นี่สร้างไม่เหมือนใคร และมันยังแข็งแรงอยู่แบบนี้มารุ่นสู่รุ่น คุณป้ายังคงเชิญชวนให้เข้าไปดูของเล่นหลากหลายในบ้านหลังนี้อย่างมีไมตรีจิต คุณป้าบอกว่าไม่ซื้อก็ไม่เป็นไร ให้เข้ามาดูได้ นี่แหละน้ำใจคนไทย รอยยิ้มของคนไทย ที่ไปแห่งหนใดในเมืองไทย ฉันเชื่อว่ายังไงก็ต้องพบเจอ
เรื่องอาหารที่นี่ไม่ต้องห่วงขอบอกว่าอิ่มสุดพลัง มีร้านอาหารให้แวะเยอะมาก ร้านข้าวมันไก่ ร้านขายก๋วยจั๊บ ร้านกุนเชียงอาซิ้มที่ขายทั้งกุนเชียง หอยจ๊อปู ปลาช่อนสดแช่น้ำปลาทอด ข้างๆ กันก็มีร้านขายน้ำพริก ร้านเกียเฮงเป็ดพะโล้ สารพัดให้เลือกซื้อกลับไปฝากคนที่อยู่กรุงเทพฯ หรือจะมานั่งให้อาหารปลาบริเวณท่าน้ำ ก็เพลินๆ ดี มีเก้าอี้ไว้คอยบริการ แต่ฉันเลือกเดินขึ้นสะพาน ขอมองตลาดท่านาอย่างกว้างๆ ให้เต็มตา เบื้องหน้าฝั่งตรงข้ามกับจุดที่ฉันยืนคือ สะพานเหล็กข้ามแม่น้ำนครไชยศรีสวยมากๆ
วันหยุดเสาร์-อาทิตย์นี้ ใครยังไม่มีโปรแกรมไปไหน ก็แวะมาตลาดท่านากันดู ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ ของกินเพียบ มุมถ่ายรูปเก่าๆ ก็เยอะ ของเก่าก็มีให้ชม ให้เลือกซื้อ อาจจะแวะไปไหว้พระที่องค์พระปฐมเจดีย์เพื่อเป็นสิริมงคลก่อนก็ได้ หรือจะข้ามสะพานตรงจุดที่ฉันยืนมอง เพื่อแวะไปพิพิธภัณฑ์เจษฎา เทคนิค มิวเซียม ไปชมรถโบราณ เรือ รถคลาสสิกมากมาย แม้กระทั่งเครื่องบินลำโต ว่าแล้วที่นครไชยศรีมีอะไรดีๆ อีกเยอะ
การเดินทาง:
จากกรุงเทพฯ ใช้ถนนปิ่นเกล้า-นครชัยศรี ผ่านพุทธมณฑลสาย 8 ตรงไปรวมกับถนนเพชรเกษมไปทาง จ.นครปฐม แล้วเลี้ยวขวาที่สี่แยกท่านา (อ.นครชัยศรี) เข้าสู่ตัวตลาดท่านา
วันหยุดเสาร์-อาทิตย์นี้ ใครยังไม่มีโปรแกรมไปไหน ก็แวะมาตลาดท่านากันดู ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ ของกินเพียบ มุมถ่ายรูปเก่าๆ ก็เยอะ ของเก่าก็มีให้ชม ให้เลือกซื้อ อาจจะแวะไปไหว้พระที่องค์พระปฐมเจดีย์เพื่อเป็นสิริมงคลก่อนก็ได้ หรือจะข้ามสะพานตรงจุดที่ฉันยืนมอง เพื่อแวะไปพิพิธภัณฑ์เจษฎา เทคนิค มิวเซียม ไปชมรถโบราณ เรือ รถคลาสสิกมากมาย แม้กระทั่งเครื่องบินลำโต ว่าแล้วที่นครไชยศรีมีอะไรดีๆ อีกเยอะ
การเดินทาง:
จากกรุงเทพฯ ใช้ถนนปิ่นเกล้า-นครชัยศรี ผ่านพุทธมณฑลสาย 8 ตรงไปรวมกับถนนเพชรเกษมไปทาง จ.นครปฐม แล้วเลี้ยวขวาที่สี่แยกท่านา (อ.นครชัยศรี) เข้าสู่ตัวตลาดท่านา
ตลาดโก้งโค้ง
ตลาดน้ำ ตลาดสด ตลาดโบราณ ตลาดบก ทุกคนสามารถเดินทางได้อย่างอิ่มอกสำราญใจ อย่างที่มีคนเคยพูดไว้ว่า .. เที่ยวเมืองไทย ไม่ไปไม่รู้ สำหรับผม จะพาไปรู้จักตลาดน้องใหม่ ที่ใคร ๆ ก็อยากรู้จักกันมาก ณ ตอนนี้ นั่นก็คือ ... ตลาดโก้งโค้ง อยุธยา ตลาดโบราณมหาเสน่ห์ส่วนจะมหาเสน่ห์ยังไง และน่าเที่ยวขนาดไหนนั้น ได้เวลาที่ผมจะพาคุณไปตะลอนทัวร์ที่นั้นแล้วครับ ... "ตลาดโก้งโค้ง" ตั้งอยู่ที่ บ้านแสงโสม หมู่ 5 ถนน บางปะอิน-วัดพนัญเชิง (ติดวัดบ้านเลน) ตำบลหนอกหลวง หรืออยู่ห่างจากตัวอำเภอพระนครศรีอยุธยา 11 กิโลเมตร เป็นตลาดย้อนยุคโบราณที่น่าสนใจแห่งหนึ่ง ทั้งนี้ ทั้งนั้น "ตลาดโก้งโค้ง" นั้น มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "บ้านแสงโสม" ซึ่งมีลักษณะเป็นบ้านเรือนไทยหมู่ใหญ่ ที่คงความเป็นสถาปัตยกรรมไทยโบราณ ไว้อย่างเด่นชัด ทุกคนสามารถสัมผัสกับบรรยากาศเก่า ๆ แบบสมัยก่อนจริง ๆ สมัยกรุงศรีอยุธยา และพบกับวิถีชีวิตไทยในอดีตที่ถูกรื้อฟื้นขึ้นมาเพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรมไทยเอาไว้ อย่างไรก็ตาม บริเวณบ้านแสงโสมในอดีตเป็นด่านขนอน (ด่านเก็บภาษีในอดีต) และเป็นสถานที่ที่มีการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้านานาชนิด ทั้งที่เป็นสินค้าจากชุมชมและสินค้าจากตัวเมืองหรือจากต่างเมือง ส่วนจากคำว่า "ตลาดโก้งโค้ง" เป็นคำที่เรียกใช้ตลาดในสมัยโบราณ อยู่คู่กับกรุงศรีอยุธยามาเป็นเวลานาน โดนคนขายสินค้าจะนั่งขายสินค้าอยู่บนพื้นดิน ดังนั้น คนที่มาซื้อสินค้าจะต้อง "โก้งโค้ง" เพื่อเลือกดูสินค้าที่ตนสนใจ ซึ่งการโก้งโค้งของคนไทยนั้น ทำได้สุภาพ นุ่มนวล เป็นกิริยาที่แสดงถึงความอ่อนน้อมถ่อมตน โดยภาพการซื้อขายจะเต็มไปด้วยความอ่อนโยน และเต็มไปด้วยอัธยาศัยไมตรีเป็นมิตร ระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย สำหรับสินค้าที่มีวางขายในตลาดนั้นก็จะมีสินค้าให้เลือกซื้อมากมาย ทั้งของสด - แห้ง - คาว - หวาน - ผลไม้มากมาย นานาชนิด ไม่ว่าจะเป็น ขนมสายบัว ขนมแป้งจี่ ขนมถั่วแปบ ขนมหม้อแกงถั่ว ทองหยิบ ขนมถ้วย ทองหยอด ขนมแป้งจี่ ขนมถ้วย ขนมตาล ไก่ย่าง หมูสะเต๊ะ ก๋วยเตี๋ยวเป็ด ก๋วยเตี๋ยวเรือโบราณ ส้มโอ กล้วย ห่อหมก ข้าวปั้นสูตรโบราณ ชมการสาธิตการเป่าแก้ว สนุกนานกับการเดินชร้านขายของที่ระลึกพร้อมการแสดงชุมชนที่มีให้ชมกันเกือบตลอดทั้งวัน จุดเด่นของตลาดโก้งโค้งแห่งนี้คือ การรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีวิถีชาวบ้าน มีอาหารและสินค้าพื้นเมืองที่หาชมได้ยาก โดยแม่ค้าทั้งหลายจะแต่งชุดไทยแบบชาวบ้านจริง ๆ เพื่อรักษาวิถีชีวิตแบบอยุธยาเอาไว้ ทั้งนี้ เจ้าของสถานที่เขาบอกไว้ว่า ตลาดแห่งนี้จัดตั้งขึ้นเพื่อสร้างรายได้ให้แก่ผู้เฒ่าผู้แก่ในชุมชน (จะได้มีรายได้) ซึ่งตลาดจะไม่มีการเก็บค่าที่ใด ๆ ทั้งสิ้น ขอเพียงแต่แต่งชุดไทย ๆ ก็เพียงพอแล้ว (ได้ยินแล้วท่านอยากจะลองไปตลาดโก้งโค้งดูไหมหละครับ)
ตลาดโก้งโค้งนี้ เปิดบริการทุกวันเสาร์ - อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 10.00 - 16.00 น.